ชีวิตมนุษย์ก็ไม่ต่างจากการหมุนเวียนของฤดูกาล
สดใสร่าเริงเหมือนฤดูใบไม้ผลิ บางครั้งอาจร้อนรุ่มราวแดดแผดเผา
บางคราก็แห้งแล้งเหมือนใบไม้ร่วง และบางช่วงก็หนาวจับขั้วหัวใจ
ฤดูกาลที่เปลี่ยนผ่าน ก็เปรียบดังวัฏสังสาร ที่ดำเนินไป แล้วก็ไหลย้อนกลับมาซ้ำเดิม
2-3 ปีก่อน บังเอิญเห็นภาพวัดลอยน้ำกลางหุบเขา เป็นฉากหนึ่งในหนัง จำไม่ได้ว่าเรื่องอะไร แต่ติดใจความงดงามของอารามบนแผ่นน้ำที่นิ่งสนิทและใสราวกระจก
ฤดูกาลที่เปลี่ยนผ่าน ก็เปรียบดังวัฏสังสาร ที่ดำเนินไป แล้วก็ไหลย้อนกลับมาซ้ำเดิม
2-3 ปีก่อน บังเอิญเห็นภาพวัดลอยน้ำกลางหุบเขา เป็นฉากหนึ่งในหนัง จำไม่ได้ว่าเรื่องอะไร แต่ติดใจความงดงามของอารามบนแผ่นน้ำที่นิ่งสนิทและใสราวกระจก
กระทั่งวันหนึ่งก็ได้เจอหนังเรื่องนี้ในร้านเช่าวีซีดี ถึงได้รู้ว่าภาพที่ติดใจนั้นมาจากหนังเรื่อง Spring, Summer, Fall, Winter ...and Spring ในชื่อภาษาไทยว่า “วงจรชีวิต กิเลสมนุษย์”
เพราะนอกจากภาพสวยสะกดสายตาแล้ว เนื้อหาของหนังก็ยังสะกิดใจ ด้วยตัวละครไร้ชื่อ และบทสนทนาแทบนับประโยคได้ แต่ภาษาภาพนั้นมากมาย อย่างที่เรียกได้ว่าแทนคำนับพัน
ลามะวัยกลางคนกับศิษย์น้อยเยาว์วัย
อาศัยอยู่ในวัดกลางน้ำ ในหุบเขาที่ล้อมด้วยป่าอันเงียบสงบ
ปฏิบัติธรรม ด้วยวิถีแห่งพุทธ ดำเนินชีวิตตามสภาพแวดล้อม
และครรลองของธรรมชาติ
แต่ละฤดูกาล เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ท้องฟ้า ใบไม้ สายน้ำ ท่ามกลางเวลาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง
แต่ละฤดูกาล เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ท้องฟ้า ใบไม้ สายน้ำ ท่ามกลางเวลาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง
อาจารย์ไม่มีคำสอน แต่ให้ศิษย์เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ
เด็กน้อยเล่นสนุกตามวัย มัดหินก้อนใหญ่ไว้บนหลังของสัตว์เล็กๆ ที่จับได้ ดูพวกมันกระเสือกกระสนอย่างลำบากด้วยความบันเทิงใจ
จนรุ่งขึ้น เมื่ออาจารย์มัดหินก้อนใหญ่ใส่หลังของตนบ้าง เด็กน้อยจึงรู้สึกหนัก อ้อนวอนอาจารย์แก้มัดให้
อาจารย์กลับบอกให้ศิษย์ไปแก้มัดสัตว์ที่น่าเวทนาเหล่านั้นก่อน
“หากพวกมันตาย ก้อนหินจะติดตัวเจ้าไปตลอดชีวิต”
การผูกมัดนั้นง่าย แต่การตามแก้ไขช่างยากเย็น เช่นเดียวกับเด็กน้อยที่ต้องเข้าป่า ตามหาสัตว์ตัวจ้อยที่ตนทรมาน เพื่อช่วยเหลือปลดปล่อยพวกมัน
ราวกับว่าอาจารย์กำลังใช้ก้อนหินเป็นเครื่องมือสอนลูกศิษย์ในเรื่องของ ‘กรรม’
เด็กน้อยเล่นสนุกตามวัย มัดหินก้อนใหญ่ไว้บนหลังของสัตว์เล็กๆ ที่จับได้ ดูพวกมันกระเสือกกระสนอย่างลำบากด้วยความบันเทิงใจ
จนรุ่งขึ้น เมื่ออาจารย์มัดหินก้อนใหญ่ใส่หลังของตนบ้าง เด็กน้อยจึงรู้สึกหนัก อ้อนวอนอาจารย์แก้มัดให้
อาจารย์กลับบอกให้ศิษย์ไปแก้มัดสัตว์ที่น่าเวทนาเหล่านั้นก่อน
“หากพวกมันตาย ก้อนหินจะติดตัวเจ้าไปตลอดชีวิต”
การผูกมัดนั้นง่าย แต่การตามแก้ไขช่างยากเย็น เช่นเดียวกับเด็กน้อยที่ต้องเข้าป่า ตามหาสัตว์ตัวจ้อยที่ตนทรมาน เพื่อช่วยเหลือปลดปล่อยพวกมัน
ราวกับว่าอาจารย์กำลังใช้ก้อนหินเป็นเครื่องมือสอนลูกศิษย์ในเรื่องของ ‘กรรม’
ฤดูกาลเปลี่ยนไป ศิษย์น้อยเติบโตเป็นเด็กหนุ่มผู้สุขุมหมดจด แต่แล้วชีวิตก็ให้บททดสอบครั้งใหญ่ เมื่อเด็กสาวคนหนึ่งเข้ามาพำนักในอารามเพื่อรับการบำบัด
เด็กหนุ่มพ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหา สร้างความสัมพันธ์อันซ่อนเร้น และหนีจากวัดตามคนรักไปสู่โลกภายนอก ที่เขาไม่เคยสัมผัส
ห้องพักในอารามนั้นไร้ผนัง แต่กลับมีบานประตู ทั้งอาจารย์และศิษย์ผ่านเข้าออกทางประตูอย่างเคร่งครัด แต่เมื่อถึงคราวศิษย์หนุ่มน้อยจะหนีจากอาจารย์ไป เขากลับไม่ใช้ประตู หากแต่ก้าวทะลุฝาผนังที่ว่างเปล่า!!
หรือประตูนั้นคือพระธรรมวินัยที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันชีวิต?
ห้องพักในอารามนั้นไร้ผนัง แต่กลับมีบานประตู ทั้งอาจารย์และศิษย์ผ่านเข้าออกทางประตูอย่างเคร่งครัด แต่เมื่อถึงคราวศิษย์หนุ่มน้อยจะหนีจากอาจารย์
หรือประตูนั้นคือพระธรรมวินัยที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันชีวิต?
ฤดูกาลผันเปลี่ยนอีกครั้ง ศิษย์หนุ่มล้มลุกคลุกคลานกลับมาหาพระอาจารย์ หอบเอาโทสะและโมหะจากความล้มเหลวในชีวิตกลับมาด้วยท่าทีแข็งกร้าว ราวกับเป็นคนละคนกับหนุ่มน้อยที่เคยนอนมองเมฆบนท้องฟ้าอย่างมีความสุข
ชีวิตทางโลกโหดร้ายกับเขา หรือเป็นเพราะเขาไม่สามารถเข้าถึงธรรมะที่แท้
ในวันที่ศิษย์หนุ่มหนีออกจากวัด เขาได้ขโมยพระพุทธรูปหินไปด้วย หนังทำให้เราเข้าใจว่า เขาแบกพระพุทธรูปติดตัวไว้ตลอดเวลา
แต่สภาพของเขาที่ซมซานกลับมา เหมือนจะบอกเราว่า
จริงๆ แล้ว ธรรมะต้องติดอยู่ในใจ
ราคะจริตชักนำให้ชายหนุ่มก่อคดีร้ายแรง เมื่อเจ้าหน้าที่ติดตามมาถึงวัดกลางน้ำ เพื่อนำตัวเขากลับไปรับโทษตามกฎหมาย พระอาจารย์กลับขอเวลาช่วงหนึ่ง เพื่อมอบบทเรียนแห่งธรรมให้ศิษย์เป็นครั้งสุดท้าย
ราคะจริตชักนำให้ชายหนุ่มก่อคดีร้ายแรง เมื่อเจ้าหน้าที่ติดตามมาถึงวัดกลางน้ำ เพื่อนำตัวเขากลับไปรับโทษตามกฎหมาย พระอาจารย์กลับขอเวลาช่วงหนึ่ง เพื่อมอบบทเรียนแห่งธรรมให้ศิษย์เป็นครั้งสุดท้าย
เขายืนมองอารามกลางน้ำในตำแหน่งเดียวกับที่เคยยืนเมื่อครั้งเยาว์วัย ภาพอดีตฉายให้เห็นความทรงจำของเด็กน้อยกับเวิ้งน้ำกว้างใหญ่ แต่ยามนี้ ภาพที่เขาเห็นคืออารามหลังกระจ้อยร่อย ลอยอยู่กลางวงน้ำเล็กๆ
โลกเปลี่ยนไปเมื่อเรามองในมุมที่ต่างจากเดิม อีกทั้งยังลึกซึ้งขึ้นเมื่อมองในวันวัยที่เปลี่ยนแปลง
Spring, Summer, Fall, Winter...and Spring เป็นผลงานของคีม คี ดุ๊ก ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเกาหลีใต้ที่เพิ่งได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เบอร์ลินปี 2005
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนฤดู การพายเรือไปมา ระหว่างวัดและฝั่ง ระดับน้ำที่ขึ้นลง ประตูแต่ละบาน นานาสัตว์ทั้งแมว ไก่ เต่า ปลา กบ และงู
รวมถึงภาพความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชาย การกระทำอัตวินิบาตกรรม
หญิงสาวผู้ปิดบังใบหน้า หรือแม้แต่การแกะสลักพระพุทธรูปด้วยน้ำแข็งที่ค่อยๆ ละลายไปในที่สุด
นอกจากการกำกับแล้ว คิม คี ดุ๊ก ยังร่วมแสดงเองในฤดูสุดท้าย เมื่อลามะวัยกลางคนลากหินก้อนใหญ่ขึ้นสู่ยอดเขา เพื่อไตร่ตรองถึงคำสอนของพระอาจารย์เมื่อครั้งยังเยาว์
นอกจากการกำกับแล้ว คิม คี ดุ๊ก ยังร่วมแสดงเองในฤดูสุดท้าย เมื่อลามะวัยกลางคนลากหินก้อนใหญ่ขึ้นสู่ยอดเขา เพื่อไตร่ตรองถึงคำสอนของพระอาจารย์เมื่อครั้งยังเยาว์
เขากล่าวถึงผลงานชิ้นนี้ว่า
“ผมตั้งใจที่จะบรรยายความรื่นเริงสดใส ความโกรธเกรี้ยว ความโศกเศร้า และความสุขในชีวิตของคนเรา ผ่านแต่ละฤดูกาล และผ่านชีวิตของพระรูปหนึ่งในวัดกลางทะเลสาปที่รอบกายมีเพียงธรรมชาติอันเงียบสงบ”
เป็นหนังที่ดูแล้วอิ่มตาอิ่มใจ ทั้งยังทิ้งข้อสงสัยให้ขบคิดต่อไม่รู้จบ เพราะหนังตีความได้หลายระดับ แต่ละระดับก่อให้เกิดทั้งคำถามและคำตอบที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและจิตใจของมนุษย์
การตีความตามประสบการณ์และฐานคิดที่ต่างกัน คงทำให้การต่อยอดความคิดหลังการดูหนังเรื่องนี้แตกแขนงไปมากมาย แถมฉากเดียวกัน อาจตีความไปคนละทาง
“ผมตั้งใจที่จะบรรยายความรื่นเริงสดใส ความโกรธเกรี้ยว ความโศกเศร้า และความสุขในชีวิตของคนเรา ผ่านแต่ละฤดูกาล และผ่านชีวิตของพระรูปหนึ่งในวัดกลางทะเลสาปที่รอบกายมีเพียงธรรมชาติอันเงียบสงบ”
เป็นหนังที่ดูแล้วอิ่มตาอิ่มใจ ทั้งยังทิ้งข้อสงสัยให้ขบคิดต่อไม่รู้จบ เพราะหนังตีความได้หลายระดับ แต่ละระดับก่อให้เกิดทั้งคำถามและคำตอบที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและจิตใจของมนุษย์
การตีความตามประสบการณ์และฐานคิดที่ต่างกัน คงทำให้การต่อยอดความคิดหลังการดูหนังเรื่องนี้แตกแขนงไปมากมาย แถมฉากเดียวกัน อาจตีความไปคนละทาง
เข้าทำนอง....สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม
มองเห็นดาวอยู่พราวพราย
แต่อย่างน้อย สิ่งหนึ่งที่ได้ คือการตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อ ทบทวนว่า
ในขณะที่โลกหมุนไป ชีวิตดำเนินไป เราเรียนรู้อะไรบ้างจากการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
แต่อย่างน้อย สิ่งหนึ่งที่ได้ คือการตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อ ทบทวนว่า
ในขณะที่โลกหมุนไป ชีวิตดำเนินไป เราเรียนรู้อะไรบ้างจากการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
(เรื่องนี้เขียนไว้นานแล้วตีพิมพ์ในคอลัมน์ธรรมบันเทิง หนังสือธรรมลีลา ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2550 แต่หนังสือจมไปกับน้ำท่วม เลยคัดลอกมาไว้ที่นี้อีกครั้ง หวังว่าน้ำคงไม่ท่วมอีกนะ T_T)
ชอบมากครับหนังเรื่องนี้ ดู 2 รอบละ
ReplyDelete