ตลอดชีวิตของคนเราผ่านการ ‘เลือก’
นับครั้งไม่ถ้วน
ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างเลือกของเล่น
เสื้อผ้า อาหาร หนังสือ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ อย่างเลือกเรียน เลือกงาน
เลือกคบคน เลือกคู่ครอง หรือเลือกเป้าหมายของชีวิต
ว่ากันว่า ‘การเลือก’ สามารถบอกถึงนิสัยใจคอของผู้เลือก และบางครั้งอาจบอกถึงอนาคต
เหมือนชีวิตของมาดิบาและซิโฟ ตัวละครเด็กในหนังสัญชาติอาฟริกาใต้เรื่อง The Wooden Camera หรือชื่อเรื่องภาษาไทยว่า ‘กล้องไม้ให้ชีวิต’
ซิโฟเป็นเด็กไร้บ้าน ส่วนมาดิบามีแม่ตกงาน พ่อขี้เมา
ว่ากันว่า ‘การเลือก’ สามารถบอกถึงนิสัยใจคอของผู้เลือก และบางครั้งอาจบอกถึงอนาคต
เหมือนชีวิตของมาดิบาและซิโฟ ตัวละครเด็กในหนังสัญชาติอาฟริกาใต้เรื่อง The Wooden Camera หรือชื่อเรื่องภาษาไทยว่า ‘กล้องไม้ให้ชีวิต’
ซิโฟเป็นเด็กไร้บ้าน ส่วนมาดิบามีแม่ตกงาน พ่อขี้เมา
มิตรภาพของสองเด็กชายเริ่มจากการแบ่งปันอาหาร พวกเขาอยู่ในชุมชนเล็กๆ
ของคนผิวดำ ใกล้เมืองเคปทาวน์ อาฟริกาใต้
ขณะกำลังหาอะไรเล่นอย่างไร้สาระอยู่แถวริมทางรถไฟ ศพชายนิรนามก็หล่นจากรถขบวนหนึ่ง!
ขณะกำลังหาอะไรเล่นอย่างไร้สาระอยู่แถวริมทางรถไฟ ศพชายนิรนามก็หล่นจากรถขบวนหนึ่ง!
เด็กทั้งสองสำรวจศพด้วยความตื่นตระหนกปนอยากรู้อยากเห็น ในกระเป๋าของชายคนนั้นมีเพียงกล้องถ่ายวิดีโอ กับปืนหนึ่งกระบอก
ซิโฟจัดการแบ่งสมบัติด้วยการคว้าปืน
แล้วยกกล้องให้มาดิบา
ทั้งคู่ไม่รู้เลยว่าของสองสิ่งนั้นจะเป็นเหตุให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิม
มาดิบาค้นพบสิ่งแปลกใหม่จากการมองผ่านเลนส์กล้องวิดีโอ
ในขณะที่ซิโฟค้นพบว่าปืนที่เหลือกระสุนค้างอยู่หนึ่งนัดนั้น ทำให้เขามีอำนาจเหนือคนอื่น
ทั้งคู่ไม่รู้เลยว่าของสองสิ่งนั้นจะเป็นเหตุให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิม
มาดิบาค้นพบสิ่งแปลกใหม่จากการมองผ่านเลนส์กล้องวิดีโอ
ในขณะที่ซิโฟค้นพบว่าปืนที่เหลือกระสุนค้างอยู่หนึ่งนัดนั้น ทำให้เขามีอำนาจเหนือคนอื่น
เอสเทล เป็นเด็กหญิงผิวขาว ลูกนายแพทย์ผู้ร่ำรวย อยู่บ้านหลังใหญ่หรูหรา มีห้องส่วนตัวและมีทุกสิ่งทุกอย่างที่อยากได้ ยกเว้นความเข้าใจจากพ่อแม่
สิ่งที่เอสเทลได้ยินอยู่เสมอคือประโยคที่ว่า “ลูกต้องทำอย่างนี้” “ลูกต้องไม่ทำอย่างนั้น”
พ่อเอาความต้องการของตนเองเป็นที่ตั้ง โดยที่ไม่เคยถามเลยว่า ลูกอยากทำอะไร
เอสเทลได้รู้จักกับมาดิบาและซิโฟโดยบังเอิญ ความต่างระหว่างเพศ สีผิว ฐานะ และสถานะทางสังคม ไม่มีผลกับความเป็นเพื่อน
เอสเทลได้รู้จักกับมาดิบาและซิโฟโดยบังเอิญ ความต่างระหว่างเพศ สีผิว ฐานะ และสถานะทางสังคม ไม่มีผลกับความเป็นเพื่อน
แต่ผู้ใหญ่(ในเรื่อง)ไม่คิดเช่นนั้น
เป็นโชคของเด็กๆ ที่มีมิสเตอร์ชอร์น ชายชราผิวขาวที่มีอาชีพสอนดนตรี เขาไม่เห็นความต่างระหว่างผิวขาวและผิวดำ เช่นเดียวกับเสียงดนตรีที่เป็นสากล
ดูเหมือนมิสเตอร์ชอร์นจะเป็นผู้ใหญ่เพียงคนเดียวในเรื่อง ที่เดินทางสายกลาง ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป และไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างสุดขั้ว
เขาเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถ มีสิ่งที่ดีซ่อนอยู่ภายใน และความศรัทธาของเขาก็มีพลังพอที่จะฉุดดึงให้เด็กๆ เกิดความเชื่อมั่นในคุณค่าและศักยภาพของตัวเอง
เป็นโชคของเด็กๆ ที่มีมิสเตอร์ชอร์น ชายชราผิวขาวที่มีอาชีพสอนดนตรี เขาไม่เห็นความต่างระหว่างผิวขาวและผิวดำ เช่นเดียวกับเสียงดนตรีที่เป็นสากล
ดูเหมือนมิสเตอร์ชอร์นจะเป็นผู้ใหญ่เพียงคนเดียวในเรื่อง ที่เดินทางสายกลาง ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป และไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างสุดขั้ว
เขาเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถ มีสิ่งที่ดีซ่อนอยู่ภายใน และความศรัทธาของเขาก็มีพลังพอที่จะฉุดดึงให้เด็กๆ เกิดความเชื่อมั่นในคุณค่าและศักยภาพของตัวเอง
ราวครึ่งหนึ่งของหนังเป็นภาพที่มองผ่านดวงตาหลังเลนส์กล้องของมาดิบา เรามีโอกาสได้เห็นสีสันและชีวิตชีวาของสิ่งที่อาจเคยมองข้าม
ไม่ว่าจะเป็นภาพเงาพร่าเลือนในน้ำ แสงแดดที่ส่องผ่านผ้าม่าน ฟองอากาศในแก้วน้ำแข็ง ถุงพลาสติกที่ปลิวตามลม แมลงตัวเล็กๆ ความเคลื่อนไหวในตลาดอันจอแจ ความวุ่นวายจากเหตุการณ์ไฟไหม้
ไม่ว่าจะเป็นภาพเงาพร่าเลือนในน้ำ แสงแดดที่ส่องผ่านผ้าม่าน ฟองอากาศในแก้วน้ำแข็ง ถุงพลาสติกที่ปลิวตามลม แมลงตัวเล็กๆ ความเคลื่อนไหวในตลาดอันจอแจ ความวุ่นวายจากเหตุการณ์ไฟไหม้
ได้เห็นโลกสองด้าน สีขาว และสีดำ ความเลวร้ายและความสุข ความรุ่มร้อนและความสงบสวยงาม
ดูหนังเรื่องนี้แล้ว ทำให้รู้สึกว่า โลกมีมากกว่าที่เราเห็น ถ้าเรารู้จัก ‘มองอย่างลึกซึ้ง’
มาดิบาทำให้เพื่อนๆพบมุมมองใหม่ในโลกใบเดิม เมื่อเด็กๆ มุงดูภาพจากกล้องวิดีโอแล้ว พากันถามอย่างตื่นเต้นว่า “ยอดเลย เจ๋งจริงๆ มันคือที่ไหนเหรอ” และเด็กชายก็ตอบว่า “ชุมชนของเราเอง”
ขณะที่กล้องกำลังเติมสีสันให้ชีวิตของมาดิบา
สีสันของซิโฟก็จัดจ้านร้อนแรงยิ่งกว่า
ปืนในมือของเด็กชายทำให้ทุกคนกลัว ทั้งคนดูหนังเองก็สะดุ้งและใจสั่นไปด้วยทุกครั้งที่เด็กชายกวัดแกว่งปืนไปมาและเล่นเกมกับกระสุนที่ค้างอยู่เพียงหนึ่งนัดในลำกล้อง
และกระสุนเพียงนัดเดียวนั้นเอง ได้ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ปืนในมือของเด็กชายทำให้ทุกคนกลัว ทั้งคนดูหนังเองก็สะดุ้งและใจสั่นไปด้วยทุกครั้งที่เด็กชายกวัดแกว่งปืนไปมาและเล่นเกมกับกระสุนที่ค้างอยู่เพียงหนึ่งนัดในลำกล้อง
และกระสุนเพียงนัดเดียวนั้นเอง ได้ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมและการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
หนังเรื่องนี้ถ่ายทอดธรรมชาติของเด็กวัยรุ่นที่ไม่ว่าชาติไหนๆ ก็ไม่ต่างกัน นั่นคือต้องการเพื่อน ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ต้องการการยอมรับ อยากเป็นตัวของตัวเอง
ขณะเดียวกันก็ยังสลัดไม่พ้นความเยาว์วัยที่ต้องการความรัก ความเข้าใจ
และการใส่ใจใยดี
ซิโฟสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ดมกาว ตั้งตัวเป็นหัวหน้าแก๊งและถือปืนกร่างไปทั่ว จี้เอาเงินจากคนขาวมาแจกเพื่อนๆ มันทำให้เขารู้สึกว่าเป็นผู้นำ เป็นคนเก่ง และทุกคนกลัวเขา
แต่ในความ ก้าวร้าวเกเร เขาว้าเหว่และต้องการความรัก
เอสเทลขโมยของจากร้านค้า แต่งตัวแต่งหน้า ทำผมแปลกประหลาด เจาะจมูกใส่ห่วง คบเพื่อนผิวดำ
ซิโฟสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ดมกาว ตั้งตัวเป็นหัวหน้าแก๊งและถือปืนกร่างไปทั่ว จี้เอาเงินจากคนขาวมาแจกเพื่อนๆ มันทำให้เขารู้สึกว่าเป็นผู้นำ เป็นคนเก่ง และทุกคนกลัวเขา
แต่ในความ ก้าวร้าวเกเร เขาว้าเหว่และต้องการความรัก
เอสเทลขโมยของจากร้านค้า แต่งตัวแต่งหน้า ทำผมแปลกประหลาด เจาะจมูกใส่ห่วง คบเพื่อนผิวดำ
เธอทำทุกอย่างที่พ่อรังเกียจ
เธออยากให้เขาโกรธ อยากให้เขาเข้าใจในสิ่งที่เธอต้องการ นั่นคือความเป็นตัวของตัวเอง
การเรียนรู้ไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กๆ แต่การเรียนรู้เป็นเรื่องของทุกคน
การเรียนรู้ไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กๆ แต่การเรียนรู้เป็นเรื่องของทุกคน
ดร.สายสุรี จุติกุล
ผู้นำด้านสตรีและเด็ก เคยกล่าวไว้ว่า
“คนเราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อที่จะเติบโตไปอีกขั้นหนึ่ง เพื่อที่จะเข้าใจตนเองและผู้อื่น”
ดังที่เอสเทลบอกกับมาดิบาว่า
“พ่อแม่ต้องโตขึ้นด้วย”
“คนเราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อที่จะเติบโตไปอีกขั้นหนึ่ง เพื่อที่จะเข้าใจตนเองและผู้อื่น”
ดังที่เอสเทลบอกกับมาดิบาว่า
“พ่อแม่ต้องโตขึ้นด้วย”
บทเรียนหนึ่งที่แวบขึ้นมาหลังจากดูหนังจบคือ
การตัดสินใจเลือกที่ผิดพลาด นำไปสู่ชีวิตที่ผิดพลาด
ไม่ว่าจะเป็นการเลือกของหรือเลือกคนก็ตาม
คิดถึงสำนวนไทยๆ ที่ว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล” ขึ้นมาทันที
แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้น ใครเล่าจะเป็นผู้สอนให้เด็กๆ รู้จักเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับพวกเขา ในสภาวะแห่งวัตถุนิยมและสื่อต่างๆ มากมายที่อาจมีอิทธิพลยิ่งกว่าปืนหรือกล้องวิดีโอ
นึกถึงคำกล่าวของท่านเจ้าคุณอาจารย์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ที่ว่า
“อย่าถามเด็กๆว่าอยากได้อะไร แต่จงถามเด็กๆ ว่าอยากทำอะไร”
ถ้าผู้ใหญ่รับฟังความคิดของเด็กและให้โอกาสในการลงมือทำ เราคงเห็นเด็กได้ใช้ความสามารถ ได้จินตนาการ ได้เรียนรู้ ได้สนุกสนาน และได้ประสบการณ์ในชีวิตด้วยตัวเขาเอง
มากยิ่งกว่าการหยิบยื่นสิ่งที่เด็กๆ ต้องการแต่เพียงอย่างเดียวแล้วจบ (อาจจะไม่ได้ติดตามดูว่าเด็กเอาไปทำอะไรต่อเสียด้วย)
ดูหนังเรื่องนี้แล้วเห็นถึงชีวิตและมิตรภาพ เห็นความเสื่อมโทรมของสังคมที่แวดล้อมเด็กๆ
คิดถึงสำนวนไทยๆ ที่ว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล” ขึ้นมาทันที
แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้น ใครเล่าจะเป็นผู้สอนให้เด็กๆ รู้จักเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับพวกเขา ในสภาวะแห่งวัตถุนิยมและสื่อต่างๆ มากมายที่อาจมีอิทธิพลยิ่งกว่าปืนหรือกล้องวิดีโอ
นึกถึงคำกล่าวของท่านเจ้าคุณ
“อย่าถามเด็กๆว่าอยากได้อะไร แต่จงถามเด็กๆ ว่าอยากทำอะไร”
ถ้าผู้ใหญ่รับฟังความคิดของเด็กและให้โอกาสในการลงมือทำ เราคงเห็นเด็กได้ใช้ความสามารถ ได้จินตนาการ ได้เรียนรู้ ได้สนุกสนาน และได้ประสบการณ์ในชีวิตด้วยตัวเขาเอง
มากยิ่งกว่าการหยิบยื่นสิ่งที่เด็กๆ ต้องการแต่เพียงอย่างเดียวแล้วจบ (อาจจะไม่ได้ติดตามดูว่าเด็กเอาไปทำอะไรต่อเสียด้วย)
ดูหนังเรื่องนี้แล้วเห็นถึงชีวิตและมิตรภาพ เห็นความเสื่อมโทรมของสังคมที่แวดล้อมเด็กๆ
เห็นความผูกพันหลายรูปแบบระหว่างพ่อกับลูก แม่กับลูก
พี่กับน้อง เด็กกับผู้ใหญ่ และเด็กๆกับผองเพื่อน
ทั้งยังสอดแทรกนัยทางสังคม พูดถึงปัญหาต่างๆ ในแอฟริกาใต้ ทั้งความแร้นแค้นและทัศนคติที่คนผิวขาวมีต่อคนผิวดำ
แต่สุดท้ายหนังก็ยังบอกเราว่า ชีวิตมีความหวัง ขอเพียงเรา ‘เลือก’ ให้เป็น
The Wooden Camera เป็นผลงานกำกับของ นชาเวนี วา ลูรูลี (Ntshaveni Wa Luruli) ผู้กำกับชาวแอฟริกาใต้ ได้รับการยกย่องจากผู้ชมและนักวิจารณ์ภาพยนตร์หลายชาติ
ได้รับรางวัล Glass Bear (หนังเยาวชนยอดเยี่ยม) จากเทศกาลหนังเบอร์ลิน ปี 2004
รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยมและรางวัล อองรี อเลอกอง (รางวัลพิเศษสำหรับหนังซึ่งมีงานด้านภาพโดดเด่นโดยเฉพาะ) จากเทศกาลหนังปารีส
อีกทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่เทศกาลหนังนานาชาติรอตเตอร์ดามอีกด้วย
น่าเสียดายที่เข้ามาลงโรงฉายบ้านเราไม่กี่วัน เรียกว่าคนดูยังไหวตัวไม่ทัน หนังก็ออกไปแล้ว
แต่สุดท้ายหนังก็ยังบอกเราว่า ชีวิตมีความหวัง ขอเพียงเรา ‘เลือก’ ให้เป็น
The Wooden Camera เป็นผลงานกำกับของ นชาเวนี วา ลูรูลี (Ntshaveni Wa Luruli) ผู้กำกับชาวแอฟริกาใต้ ได้รับการยกย่องจากผู้ชมและนักวิจารณ์ภาพยนตร์หลายชาติ
ได้รับรางวัล Glass Bear (หนังเยาวชนยอดเยี่ยม) จากเทศกาลหนังเบอร์ลิน ปี 2004
รางวัลกำกับภาพยอดเยี่ยมและรางวัล อองรี อเลอกอง (รางวัลพิเศษสำหรับหนังซึ่งมีงานด้านภาพโดดเด่นโดยเฉพาะ) จากเทศกาลหนังปารีส
อีกทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่เทศกาลหนังนานาชาติรอตเตอร์ดามอีกด้วย
น่าเสียดายที่เข้ามาลงโรงฉายบ้านเราไม่กี่วัน เรียกว่าคนดูยังไหวตัวไม่ทัน หนังก็ออกไปแล้ว
แต่ก็โชคดีที่มีหนังแผ่น (วีซีดี) พอให้หาซื้อหรือเช่าได้ หนังใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ (มีภาษาพื้นเมืองแทรกบ้าง) และมีฉบับพากย์ไทยด้วย
ในวันเยาวชนแห่งชาติปีนี้ การ ‘เลือก’
หยิบหนังเยาวชนเรื่อง The Wooden Camera มาดู
อาจจะทำให้ผู้ใหญ่หลายๆ คนเติบโตได้เช่นกัน
……………..
(เรื่องนี้เขียนในวันเยาวชนแห่งชาติ ปี 2550 ได้ตีพิมพ์ในหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 82 ใช้นามปากกา เรืองพิลาศ)
No comments:
Post a Comment